ปัจจัยสู่ความสําเร็จการค้า-ลงทุนในอาเซียน

สรุป 10 ปัจจัยสู่ความสําเร็จในการทําการค้าการลงทุนในอาเซียน

 

 

 ปัจจัยสู่ความสําเร็จการค้า-ลงทุนในอาเซียน

 

เพื่อต้อนรับปี 2558 ซึ่งจะเป็นปีที่ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ผมขอใช้โอกาสนี้สรุป 10 ปัจจัยสู่ความสําเร็จในการทําการค้าการลงทุนในอาเซียนมาให้คุณๆ ผู้อ่านได้พิจารณาครับ เพราะเชื่อว่าปี 2558 น่าจะเป็นห้วงเวลาที่ผู้ประกอบการไทยวางแผนที่จะบุกตลาดอาเซียนอยู่แล้ว ปัจจัยสำคัญคร่าวๆ ดังนี้

  

1.ต้องมีการวางแผนธุรกิจ และเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละตลาด ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการออกไปขยายธุรกิจในต่างประเทศจะต้องมีการเตรียมตัวและวางแผนรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ไว้ในลักษณะของคู่มือที่จะทําให้ผู้บริหารสามารถทําตามขั้นตอนได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น ในขณะเดียวกัน พฤติกรรมของลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ เข้ามาซื้อสินค้าของเราในแต่ละประเทศอาเซียนก็มีรสนิยมและรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน สินค้าสีหนึ่งอาจจะขายดีในบางประเทศ แต่อาจจะขายไม่ออกในบางประเทศก็ได้เช่น ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ผู้คนไม่นิยมสินค้าสีเหลือง ในขณะที่พม่าผู้คนไม่ชอบสินค้าสีส้มและสีขาว เพราะหมายถึงความตายในกัมพูชา เช่นนี้เป็นต้นครับ

 

2.ต้องมีการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) และวางแผนรับมือเตรียมไว้ในลักษณะของคู่มือที่จะทําให้ผู้บริหารระดับกลางสามารถทําตามเป็นขั้นๆ ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น โดยต้องทดสอบในหลายๆ สถานการณ์จําลอง อาทิเมื่อมีความไม่แน่นอนทางการเมืองภายใน เมื่อมีการปิดจุดผ่านแดนและด่านชายแดน เมื่อมีความไม่เสถียรในระบบไฟฟ้า เมื่อระบบอัตราแลกเปลี่ยนและการโอนเงินมีอุปสรรค เป็นต้น คิดเอาไว้ล่วงหน้าเลยครับว่าเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้จากการไปทําการค้าการลงทุนในครั้งนี้มีอะไรบ้าง คิดก่อนที่จะเริ่มเอาเงินไปลงทุนครับ เพราะก่อนลงเงิน สติสมาธิยังมีครบครับปัญญาจะเกิดขึ้น

 

3.เตรียมคู่มือนี้ไว้พอปัญหาเกิดก็เอามาพิจารณาและปรับใช้หน้างานอีกครั้ง ดีกว่าไปคิดเอาเมื่อเกิดปัญหา เพราะเมื่อท่านลงเงินไปแล้ว ถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อมที่ดีส่วนใหญ่เวลาปัญหาเกิด ท่านจะ หน้ามืด ไร้สมาธิและเสียสติครับ และอาจจะคิดเอาง่ายๆ ว่า เอาเงิน ต่อเงินสิหวังว่าใส่เงินก้อนใหม่เข้าไป จะลากเอาเงินก้อนเก่าออก มาได้ซึ่งส่วนใหญ่จะเจ๊งทั้งหมดครับ

 

4.พันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นคนในท้องถิ่นเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง  พันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นคนท้องถิ่นเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับการออกไปลงทุนในต่างประเทศเนื่องจากพันธมิตรที่ดีจะรู้ช่องทาง รู้กฎระเบียบ รวมทั้งมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ใน สปป.ลาว ตําแหน่งผู้บริหารของภาครัฐจะมีการ สับเปลี่ยนโยกย้ายทุกๆ 3 ปี พวกเราคนนอกไม่ทราบหรอกครับว่าอีก 3 ปีข้างหน้าใครจะมาเป็นเจ้าแขวง แต่คนลาวด้วยกันเขาพอจะเดาทางออกครับว่าใครจะขึ้นมา และข้อมูลประเภทนี้รู้ก่อนได้เปรียบครับ เพราะเจ้าแขวงของสปป.ลาว สามารถให้สิทธิพิเศษในการทําการค้าการลงทุนได้อย่างน่าสนใจทีเดียวครับ

 

5.การทํางานร่วมกันกับคนท้องถิ่นต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นหลัก เนื่องจากระบบกฎหมายและระบบการตรวจสอบทางการเงินมีความแตกต่างจากที่นักธุรกิจไทยคุ้นเคย และต้องไม่เอาเปรียบพันธมิตรทางธุรกิจที่เราไปร่วมลงทุนด้วย

 

6.ศึกษาระบบ Logistics และเส้นทางการคมนาคม ต้องศึกษาเส้นทางการคมนาคมรวมทั้งระบบการขนส่งโลจิสติกส์ต้องอัพเดทข่าวสภาพเส้นทางและเส้นทางขนส่งสายใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมทั้งเส้นทางขนส่งที่จะทําให้หลายๆ ประเทศในอาเซียนเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลของอาเซียน และเป็นประตูสู่ภาคใต้และภาค ตะวันตกของจีน รวมทั้งเป็นประตูสู่ภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียอีกด้วย

 

7.เงินสดสํารองและกระแสเงินทุนหมุนเวียน การลงทุนในหลายๆ ประเทศในอาเซียนต้องมีสายป่านยาว เงินสดสํารองและกระแสเงินทุน หมุนเวียนต้องมีปริมาณที่มากเพียงพอ เนื่องจากขนาดตลาดในประเทศที่มีขนาดเล็ก เช่น สปป.ลาว พม่าแม้จะมีอัตราการเติบโตสูง แต่จะใช้เวลาในการคืนทุนค่อนข้างยาวนาน โดยในบางภาคการผลิตสินค้า และบางภาคบริการ รัฐบาลหลายประเทศ เช่น เวียดนาม เรียกให้ผู้ประกอบการจําเป็นต้องมีเงินทุน จดทะเบียนที่ชําระแล้วสูง

 

ที่มา : ดร.ปิติศรีแสงนาม ผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

………………….