27 วาระจังหวัดตรัง2559

 

27 วาระจังหวัดตรัง ผู้ว่าฯขันน็อตหน่วยงานต้องบูรณาการทำจริง ตั้ง 34 อรหันต์ติดตาม ประชุมรายไตรมาส งัด KPI Template ชี้วัด

 

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559 ที่โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จังหวัดตรัง นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง แถลงข่าวขับเคลื่อน 27 วาระจังหวัดตรังประจำปี 2559 แบ่งเป็น 3 กลยุทธ์ รวม 27 วาระ โดยนายเดชรัฐ กล่าวว่า ทั้ง 27 วาระมาจากการลงพื้นที่สแกนปัญหา แล้วใช้หลักการแก้ปัญหา ทฤษฎี ออกมาเป็น “นโยบายคืนความสุขที่พองเพียงให้กับคนตรัง” หากในปี 2559สามารถดำเนินการได้บรรลุผล ในปีต่อๆไปอาจสามารถรวมวาระต่างๆเข้าด้วยกันแล้วประกาศให้น้อยลงได้ และทั้งหมดต้องอาศัยการบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐและประชาชน โดยตนจะติดตามอย่างเข้มข้น มีตัวชี้วัดประเมิน และมีการตั้งผู้รับผิดชอบต่อวาระแต่ละด้านอย่างชัดเจน ตลอดจนมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาติดตามตรวจสอบประเมินผลการทำงานด้วย จึงต้องขอความร่วมมือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ช่วยกัน เพราะถ้าไม่ช่วยกันสิ่งที่ผู้ว่าฯประกาศไว้ก็สำเร็จไม่ได้ ผู้ว่าฯก็จะเสียคน

 

นายเดชรัฐกล่าวอีกว่า สิ่งที่จะดำเนินการในเชิงรุกก็จะเป็นประเด็นการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยจังหวัดตรังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายที่จะดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเที่ยวชม และจากการสำรวจที่ได้ค้นพบใหม่คือ สันหลังมังกร ซึ่งจะผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนทะเลอันดามันในจังหวัดตรัง โดยได้ค้นพบ จำนวน 6 ตัว คือ ตัวที่ 1 “สันหลังมังกรเหลือง” อยู่ในพื้นที่หมู่ 2 บ้านหยงสตาร์ ต.ท่าข้าม ตัวที่ 2 “สันหลังมังกรเกล็ดทองคำ” ตั้งอยู่ใน หมู่ 4 บ้านทุ่งรวงทอง ต.ท่าข้าม ตัวที่ 3 “สันหลังมังกรนิล” อยู่ในพื้นที่ 4 บ้านตะเสะ ต.ตะเสะ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง ตัวที่ 4 “สันหลังมังกรหยก” ตั้งอยู่หมู่ 1 บ้านเสียมไหม ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน และตัวที่ 5 “สันหลังมังกรทับทิมสยาม” อยู่ในพื้นที่ หมู่ 4 บ้านหาดทรายทอง ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน และ ตัวที่ 6 “สันหลังมังกรเผือก” หมู่บ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง พร้อมกันนี้จังหวัดจะจัดกิจกรรมการประกวดถ่ายภาพ “เดือนแห่งการถ่ายภาพสันหลังมังกร” อีกด้วย

 

ผู้สื่อข่าว www.addtrang.com รายงานว่า สำหรับ 27 วาระจังหวัดตรังประจำปี 2559 แบ่งเป็น 3 กลยุทธ์ รวม 27 วาระ ประกอบด้วย

(ดูภาพเอกสารด้านล่างประกอบ ยุทธศาสตร์/เป้าหมาย/ผู้รับผิดชอบ)

 

1.“กลยุทธ์รวมพลังคืนความสุข” มี 9 วาระพัฒนาจังหวัด ได้แก่ 1.1เสริมสร้างความสุขทุกครัวเรือน 1.2เร่งรัดแก้ปัญหายาเสพติดและรณรงค์โครงการ To Be Number One 1.3เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน 1.4พัฒนาการศึกษาก้าวทันอาเซียน 1.5ส่งเสริมการจัดสวัสดิการถ้วนทั่ว สังคมสงเคราะห์ และพัฒนาครอบครัว 1.6ส่งเสริมบทบาทสตรี 1.7ส่งเสริมพหุวัฒนธรรมนาความสุข 1.8ส่งเสริมการออกกาลังกาย และพัฒนาการกีฬา 1.9ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และปูองกันโรคภัยให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย  

 

2.“กลยุทธ์รุกการพัฒนา” มี 9 วาระพัฒนาจังหวัด ได้แก่ 2.1พัฒนาการเกษตร สหกรณ์ ปศุสัตว์ ประมง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.2พัฒนาอาชีพยางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร 2.3พัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร และฝีมือแรงงาน 2.4ส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ใสสะอาด สร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน และเทิดทูนสถาบัน 2.5เสริมสร้างความเข้มแข็งให้หมู่บ้านและชุมชน 2.6ส่งเสริมการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.7เร่งรัดการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 2.8อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.9พัฒนาระบบปูองกัน และบรรเทาสาธารณภัย

 

3.“กลยุทธ์เปิดฟ้าการท่องเที่ยวตรัง” มี 9 วาระพัฒนาจังหวัด ได้แก่ 3.1ส่งเสริมการจัดกิจกรรม และพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว 3.2ส่งเสริมปั่นจักรยานเพื่อการท่องเที่ยว 3.3ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ชายเล ปุา นา เขา ถ้า น้าตก 3.4ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเล หมู่เกาะ และ สันหลังมังกร 3.5ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองต้องห้ามพลาดยุทธจักรอาหารอร่อย 3.6ส่งเสริมการท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานและนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 3.7ส่งเสริมการผลิต และจาหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP และ SME 3.8พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแหล่งท่องเที่ยว 3.9พัฒนาเส้นทางการคมนาคม ขนส่ง และการท่องเที่ยว

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการกำหนด 27 วาระจังหวัดตรังปี 2559 ในครั้งนี้ นายเดชรัฐจะสั่งการให้มีการบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนออกคำสั่งจังหวัดตรัง ที่ 3853/2558 ตั้งคณะติดตามประเมินผลการบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดตรังและการขับเคลื่อน 27 วาระจังหวัดตรัง ปี 2559 ขึ้นมาเพื่อติดตามการทำงานโดยเฉพาะโดยใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดในระบบ KPI Template โดยคณะกรรมการติดตามประเมินผลมีหน้าที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน กำกับดูแล เพื่อการบรรลุตามวาระการพัฒนา ตัวชี้วัด รวบรวมจัดเก็บข้อมูล หลักฐานผลการดำเนินงาน ตามระดับขั้นของความสำเร็จ 5 ขั้นตอน ตามเกณฑ์การให้คะแนน และรายงานผลความก้าวหน้าตามขั้นตอนการปฏิบัติงานต่อผู้ว่าฯในการประชุมกรมการจังหวัด ไตรมาสละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ คณะกรรมการติดตามประเมินผล มีทั้งหมด 34 คน โดยมีนายนิยม สองแก้ว แรงงานจังหวัดตรัง เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ

 

เอกสารประกอบ

 

 

ขอบคุณภาพประกอบจากคุณวานิช สุนทรนนท์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฅนตรัง