“ทับเที่ยง” เป็นเมืองเก่าที่ยังมีชีวิต

 

การศึกษาพัฒนาการรูปแบบของตึกแถวการค้าในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนอพยพเป็นชุมชนการค้า ปลูกสร้างตึกแถวใช้เป็นที่พักอาศัยและประกอบกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนในช่วงกลางยุครัตนโกสินทร์ต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน จึงนับได้ว่า “ทับเที่ยง” เป็นเมืองเก่าที่ยังมีชีวิต(Livable City) และยังคงเอกลักษณ์(Identity)ที่แสดงลักษณะเดิมแท้ของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นตรังอันเป็นคุณค่าทางวัฒนธรรม(Cultural Value)

 

 

งานวิจัยตึกแถวตรัง โดย “ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์”

“การศึกษาพัฒนาการรูปแบบของตึกแถวการค้าในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนอพยพเป็นชุมชนการค้า ปลูกสร้างตึกแถวใช้เป็นที่พักอาศัยและประกอบกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนในช่วงกลางยุครัตนโกสินทร์ต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน จึงนับได้ว่า “ทับเที่ยง” เป็นเมืองเก่าที่ยังมีชีวิต(Livable City) และยังคงเอกลักษณ์(Identity)ที่แสดงลักษณะเดิมแท้ของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นตรังอันเป็นคุณค่าทางวัฒนธรรม(Cultural Value)

...

 

ช่วงก่อนหน้านี้ ในตัวเมืองทับเที่ยง หลายคนอาจสังเกตหรือไม่สังเกตเห็นสาวน้อยคนหนึ่ง เที่ยวเดินสำรวจด้อมๆมองๆไปทั่วเมือง ในมือหอบหนังสือ เอกสารพะรุงพะรัง เธอคือ “ปัทม์ วงค์ประดิษฐ์” นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มาลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งด้านกายภาพ รังวัดสำรวจ และข้อมูลทางวิชาการ ในงานวิจัยประกอบวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาพัฒนาการรูปแบบของตึกแถวการค้าในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ทับเที่ยง จังหวัดตรัง” สนับสนุนทุนวิจัยโดย โครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. ด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

 

แม้ไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อตรังใดๆ แต่ผลงานของเธอกลับมีสาระและเป็นประโยชน์อย่างมาก งานวิจัยบอกเล่าถึง “ทับเที่ยง” ในปัจจุบัน ที่ถือเป็นพื้นที่ย่านประวัติศาสตร์ในกลางเมืองของตรัง  ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนอพยพเป็นชุมชนการค้า ปลูกสร้างตึกแถวใช้เป็นที่พักอาศัยและประกอบกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนในช่วงกลางยุครัตนโกสินทร์ต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน จึงนับได้ว่า “ทับเที่ยง” เป็นเมืองเก่าที่ยังมีชีวิต(Livable City) และยังคงเอกลักษณ์(Identity)ที่แสดงลักษณะเดิมแท้ของสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นตรังอันเป็นคุณค่าทางวัฒนธรรม(Cultural Value)

 

วิจัยของเธอมีการจำแนกพัฒนาการรูปแบบสถาปัตยกรรมตึกแถวการค้าในทับเที่ยงไว้ 5 รูปแบบ ได้แก่

 

1.ตึกแถวแบบจีนสมัยที่1 เป็นตึกแถวแบบจีนสมัยแรกที่ชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนเข้ามาทำการค้าและสวนพริกไทย รูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากจีน สูง 1-2 ชั้น รูปร่างค่อนข้างเตี้ย เป็นโครงสร้างไม้ทั้งหลัง

 

2.ตึกแถวแบบจีนสมัยที่2 ชาวไทยเชื้อสายจีนเริ่มปรับตัวเข้ากับสังคมวัฒนธรรมภาคใต้และระบบราชการ เริ่มมีการประดับตกแต่งมากขึ้น อาทิ บัวปูนปั้นตกแต่งเสา กระเบื้องเซรามิกตกแต่งราวระเบียง ช่องลมระบายอากาศเหนือประตูเป็นต้น

 

3.ตึกแถวแบบจีนผสมตะวันตกอิทธิพลนีโอคลาสสิค ชาวไทยเชื้อสายจีนมีฐานะมั่นคงขึ้น ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น ทางรถไฟแล้วเสร็จ การคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น ในการเก็บข้อมูลจากเจ้าของตึกแถวของตระกูล “ไทรงาม” ระบุได้ค้าขายกับเมืองปีนัง มีการส่งช่างก่อสร้างไปดูแบบอาคารจากปีนังกลับมาสร้าง เป็นรูปแบบจีนผสมตะวันตก

 

4.ตึกแถวแบบตะวันตกร่วมสมัย เป็นช่วงเศรษฐกิจโดยรวมทับเที่ยงฝืดเคืองจากภาวะสงคราม ค้าขายลำบาก ขาดแคลนช่างฝีมือ ส่งผลให้รูปแบบตึกแถวมีลักษณะเรียบเกลี้ยงไม่เน้นการประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นหรือซุ้มโค้งครึ่งวงกลม

 

5.ตึกแถวแบบตะวันตกสมัยใหม่ เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น การติดต่อสื่อสารสะดวกรวดเร็ว เปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเน้นเส้นตั้งและเส้นนอน

 

วิจัยยังทิ้งท้ายด้วยข้อเสนอแนะของผู้วิจัยด้วยเจตนาดีในเชิงอนุรักษ์ให้เมืองตรังของเรา

 

-ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชย์กรรม ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เพื่อส่งเสริมแนวทางการอนุรักษ์ตามความสำคัญของพื้นที่ ประกาศบริเวณถนนกันตัง ถนนราชดำเนิน ถนนตลาด ถนนวิเศษกุล และถนนพระรามหก เป็นพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์

 

-การกำหนดกรอบการอนุรักษ์ตึกแถวและภาพลักษณ์ของอาคารให้สอดคล้องกับบริบทของสภาพแวดล้อม มาตรการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของอาคารที่ปลูกสร้างใหม่ต่อไปในอนาคต เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับสภาพตึกแถวเก่าในพื้นที่โดยรอบ โดยควบคุมเรื่องความสูงอาคาร ระยะถอยร่นจากถนนสาธารณะเพื่อรักษาระดับอันจะมีผลกับมุมมองทัศนียภาพอันเป็นเอกลักษณ์ของย่าน

 

-ภาครัฐควรกำหนดแผนและนโยบายในการอนุรักษ์อาคารตามความเร่งด่วนในการอนุรักษ์ซ่อมปรับปรุงตึกแถวเดิม

..........

ภาพเพิ่มเติม