มหกรรมโนรานาโยงถวายอาลัยในหลวง

กิจกรรมมโนราห์นาโยง โดยเป็นการรวมพลังของเหล่ามโนราห์ 21 คณะ รำถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

มหกรรมโนรานาโยงยิ่งใหญ่ 21 คณะ รำถวายอาลัยในหลวง สกว.หนุน แนวทางสืบสานศิลปะมโนราห์ อ.นาโยง

เรื่อง/ภาพ : ธีระศักดิ์  จิตต์บุญ

.............

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม เวลา 09.30 ที่ วัดไทรทอง ม.11 ต.โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง มีการจัดให้มีกิจกรรมมโนราห์นาโยง โดยเป็นการรวมพลังของเหล่ามโนราห์ 21 คณะ รำถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ วันที่ 26 ตุลาคม 2560 โดยมี นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายสกล ดำรงเกียรติกุล นายอำเภอนาโยง นายศุกศักดิ์ ศรีหมาน ท่องเที่ยวกีฬาจังหวัดตรัง นายธานินทร์ ทองขโชค ประชาสัมพันธ์จังหวัดตรัง นางสาวกรุณา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ททท.สำนักงานตรัง ร่วมกิจกรรม ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวจัดโดย ทีมงานวิจัยแนวทางการสืบสานศิลปะมโนราห์ อ.นาโยง จ.ตรัง

 

น.ส.ขนิษฐา จุลบล   ผู้ประสานงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศูนย์ตรัง (สกว.ตรัง ) ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า  การทำโครงการ ‘แนวทางการสืบสารศิลปะมโนราห์ อ.นาโยง’ นี้ เป็นโครงการมีประโยชน์อย่างมากต่อทีมวิจัยและคณะโนราที่ได้ทำวิจัยและได้รวมโนราหลายคณะเข้ามาด้วยกันมาแสดงในโรงเดียวกันถือว่าโชคดีมาก เพราะแต่ละคณะติดงานแสดงของตัวเอง และที่เลือกมาทำวิจัยโนรา อ.นาโยง เพราะที่นี้มีบริบทที่นับถือครูหมอโนรามีเชื้อสายครูหมอโนราและมีคณะมโนราห์หลายคณะ ที่นี้คนนับถือและปฎิบัติต่อครูหมออย่างเคร่งครัดรวมถึงหัวหน้าคณะของโนราเองทำให้ในการแสดงพิธีกรรมต่างๆนั้นมีความขลังและศักดิ์สิทธ์เป็นอย่างมาก เพราะได้ยึดถือตามครูโนรามาแต่โบรา และการจัดวิจัยครั้งนี้ทาง สกว.และทีมงานได้จัดทำแผนผังการสืบเชื้อสายหรือต้นตระกูลของคณะมโนราห์แต่ละคณะไว้ด้วย เพื่อให้ได้รู้ความเป็นมาของคณะตัวเอง ซึ่งการทำโครงการวิจัยนี้เริ่มจาก โครงการสืบสานศิลปะโนรา ต.โคกสะบ้า  ซึ่งเป็นการวิจัยในระดับตำบล

 

น.ส.ขนิษฐา กล่าวอีกว่า และโครงการในตอนนี้ที่กำลังทำอยู่คือ โครงแนวทางสืบสานศิลปะมโนราห์ อ.นาโยง เป็นการวิจัยในระดับ อำเภอ และต่อไปก็อาจต่อยอดไปเป็นโครงการวิจัยในระดับจังหวัดต่อไป และเมื่อวิจัยครั้งนี้เสร็จสามารถไปใช้เพื่อความรู้ของโนราเอง ใช้เผยแพร่ตามวารสารต่างๆและห้องสมุด และใช้ในห้องสมุดอลิทรอนิคของ สกว.เอง และสิ่งที่คาดหวังเมื่อโครงการนี้จบคือ 1 สร้างภาคีเครือข่ายของโนราในจังหวัดตรัง 2 เกิดความสามัคคีในโนราด้วยกัน  3 ได้จัดองค์ความรู้ไว้อย่างเป็นระบบและหลักฐานที่สามารถสืบค้นหาได้ ซึ่งในงานซึ่งในงานจะมีการแสดงโหมโรง กาศราชครูโนรา , โชว์ลาดลายนายโรง 6 คณะ , เล่ากระบวนการวิจัยผ่านการแสดงมโนราห์, โชว์ รำเฆี่ยนพราย , โชว์รำหอกรำแทงเข้,และการเสวนา เอกลักษณ์โนรานาโยง โยง 

      

ด้านนายภัทรพงษ์ สังขาว คณะมโนราห์ ภัทรพงษ์ เสน่ห์ศิลป์ ในฐานะรองนายกสมาคมโนราจังหวัดตรัง กล่าวว่า ทางคณะโนราของตนรู้สึกยินดีในโครงการวิจัยของสกว. ซึ่งเป็นโครงการที่มีประโยชน์กับศิลปินพื้นบ้านโดยเฉพาะโนราทีมงานวิจัยทสกว. ได้จัดคณะโนราต่างๆของจังหวัดตรัง ทำให้โนราคณะต่างๆได้มีความกลมกลียวกันสามัคคีกันและได้ช่วยอนุรักษ์ศิลปินพื้นบ้านภาคใต้วัฒนธรรมท้องถิ่น และทางคณะโนราของกระผมมีความยินดีที่จะร่วมกับโครงการนี้เพื่อจะได้สืบสานโนราต่อไปและหวังว่าทีมงานวิจัยจะมีโครงการดีๆอย่างนี้มาเรื่อยๆ ครับ เพื่อจะทำให้เยาวชนรุ่นหลังได้ซึมซับศิลปินพื้นบ้านเอาไว้ตลอดไป

     

ขณะที่นายชัยพร กังแฮ หรือ โนรากร เมืองตรัง กล่าวแสดงความรู้สึกว่า   มาแต่ตรัง   ไม่หนังก็โนรา คำนี้เป็นคติของตน จึงทำให้ได้อนุรักษ์ศิลปโนราของชาวใต้เอาไว้ ซึ่งมีความยินดีที่ได้เข้าร่วมกับโครงการทีมวิจัยนี้  สกว. ในครั้งนี้ และอยากให้มีโครงการนี้สืบต่อไปเพื่อจะได้เป็นแนวทางแบบอย่างการอนุรักษ์ศิลปพื้นบ้านแขนงดนราให้เยาวชนรุ่นหลังได้ดูเป็นแบบอย่าสืบต่อไป

   

ด้านนายจิรพัฒน์ จินดาดวง หรือ โนราอ้อฟ พรเทวา  โนราเยาวชนรุ่นใหม่  กล่าวว่า เดิมตนเป็นคนท้องถิ่น ต .โคกสะบ้า อ.นาโยง จ.ตรัง ได้เข้าร่วมกับโครงการวิจัยสกว. และศูนย์การเรียนรู้ของโนราโบราณ และอยากให้มีโครงการเช่นนี้ต่อไปอีก และอยากให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิม เพราะอยากให้เยาวชนได้ซึมซับวิธีคนใต้ คือ โนราต่อไป

 

ชมภาพ

 

………