เชลล์ ดันปาล์มสู่พลังงานทดแทน

 

อีก 35 ปีข้างหน้า หรือ ปี 2593 องค์กรอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7 พันล้านคน ไปเป็น 9 พันล้านคน ทำให้ความต้องการพลังงาน น้ำ และอาหาร เติบโตทวีคูณ เชลล์จึงลงทุนพัฒนาการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในไทยอย่างจริงจัง

 

 

ยกระดับน้ำมันปาล์ม รับผิดชอบสิ่งแวดล้อม

 

ดังนั้น ความต้องการในการพัฒนาและการลงทุนเพื่อสรรหาแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนให้เพียงพอแก่ความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

         

เชลล์มีนโยบายในเรื่องส่งเสริมการพัฒนาพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน และด้วยความ รับผิดชอบต่อสังคมในประเทศ ไทย จึงสนับสนุนแผนพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือกของประเทศ พร้อมยกระดับมาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันตลอดสายการผลิตในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจของเกษตรกรชาวไทย

         

เป็นเวลากว่า 3 ปี ที่ เชลล์ ร่วมกับ บริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัด สนับสนุน โครงการส่งเสริมศักยภาพการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน Roundtable on Sustainable Palm Oil หรือ RSPO เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรชาวไทย และโรงงานสกัดน้ำมันผ่าน การรับรองมาตรฐานการผลิต ปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน RSPO ซึ่งในเดือน ส.ค.58 ที่ผ่านมา เกษตรกรชาวไทยจำนวน 797 ราย ใน จังหวัดกระบี่ นครศรี ธรรมราช ตรัง สุราษฎร์ธานี และโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม 5 แห่ง ได้รับประกาศนียบัตรผ่านมาตรฐาน RSPO ไปเรียบร้อยแล้ว

         

นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ได้ลงทุนพัฒนาการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในประ เทศไทย โดยให้การสนับสนุนเกษตรกรไทย และโรงสกัดน้ำมันให้ได้รับมาตรฐานการผลิตน้ำมัน ปาล์มอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐาน RSPO ซึ่งในทุกๆ ปี น้ำมันปาล์มที่ผสมในน้ำมันของเชลล์   จะได้รับการรับรองจากองค์กรระดับโลก อาทิ มาตรฐาน RSPO ในปี พ.ศ.2557 เราได้ผสมเชื้อเพลิงชีวภาพประมาณ 9 พันล้านลิตรในน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลทั่วโลก ทำให้เราเป็นหนึ่งในบริษัทพลังงานที่มีการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพใหญ่ที่สุดในโลก

         

"เชลล์มีความยินดีเป็น อย่างยิ่งกับกลุ่มเกษตรกรและ โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ที่ได้ดำ เนินงานจนได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน RSPO เป็น การยกระดับการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม สร้างความมั่นใจได้ว่าตลอดห่วงโซ่อุปทานในการปลูก การสกัดน้ำมันปาล์ม และการแปรรูปน้ำมันปาล์ม และจนมาถึงน้ำมันดีเซล ที่ผู้บริโภคเติม มีความยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังความมุ่งหวังของเชลล์ที่ต้องการสร้างความแตกต่างให้กับประเทศ" นายอัษฎา กล่าว

         

มร.ซาลาฮุดดิน ยาค็อบ ผู้อำนวยการด้านเทคนิค หน่วยงานมาตรฐาน RSPO กล่าวว่า "ประเทศไทยมีจำนวนไร่ปาล์มน้ำมันประมาณ 4 ล้าน 2 แสนไร่ ซึ่ง 70% เป็นพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรรายย่อย RSPO มีความตั้งใจที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยผ่านการรับ รองมาตรฐาน RSPO เพื่อให้มีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพิ่มรายได้ ขณะเดียวกัน ลดความเสี่ยงเรื่องการใช้พื้นที่ทำกินไม่ถูกต้อง บุกรุกพื้นที่ป่า หรือแม้แต่การเผาป่า ซึ่งส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ"

         

นายศาณินทร์ ตริยานนท์ นายกสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย และกรรมการบริษัท น้ำ มันพืชปทุม จำกัด กล่าวว่า น้ำมันปาล์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO เฉลี่ยทั้งโลกมีประมาณ 20% อินโดนีเซียผ่านการรับรอง 18-19% มาเลเซียผ่านการรับรอง 25% ขณะ ที่ประเทศไทยผ่านการรับรองเพียง 1%

         

นายเชาวลิต วุฒิพงศ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนศรีเจริญ กล่าวว่า เกษตรกรได้รับความรู้ที่ถูกต้องในการจัดการสวนปาล์ม ตั้งแต่การเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ปุ๋ย การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน การเก็บเกี่ยวที่ดี ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง ผลผลิตทะลายปาล์มสดสูงขึ้น สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้นเมื่อ เทียบกับผลผลิตคุณภาพทั่วไป โดยผู้ประเมินของ RSPO รับ รองว่ากลุ่มเรา ซึ่งได้มีการพัฒนากระบวนการปลูกปาล์ม น่าจะได้ผลผลิตประมาณ 4 ตันต่อ ไร่

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์